ลักษณะของพยาธิ ลำตัวเป็นปล้องๆ มีลักษณะแบนและยาวมองดูคล้ายบะหมี่ขดตัวไปมา บางตัวอาจยาวถึง 4-6 เมตร มีส่วนกว้างที่สุดประมาณ 1.2-1.6 เซนติเมตร สามารถงอกและแบ่งตัวเป็นปล้องใหม่ได้เรื่อยๆ เพื่อชดเชยปล้องตอนท้ายที่ต้องหลุดไป หรือบ่อยครั้งก็หลุดออกไปยาวเป็นไม้บรรทัดได้เหมือนกัน
อาศัยอยู่ในลำใส้เล็ก มักไม่ค่อยเป็นปัญหากับแพะโต แต่มักจะเป็นปัญหากับแพะที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะสามารถติดพยาธินี้ได้ง่ายและมักมีอาการรุนแรงกว่าแพะโต เช่น ผอมซูบ น้ำหนักลด การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีภูมิต้านทานโรคน้อยลง ถ้าป็นมากอาจทำให้ลูกแพะตายได้
หลักปฎิบัติเกี่ยวกับการรักษาโรคพยาธิตัวตืด
เมื่อตรวจและวินิจฉัยพบว่า แพะ เป็นพยาธิตัวตืด ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ถ่ายพยาธิตัวตืดด้วยยาที่มีประสิทธิภาพทำลายสูงสุดและปลอดภัยต่อชีวิตโดยทันที
2. ก่อนถ่ายพยาธิตัวตืด ต้องงดให้อาหารอย่างน้อย 15 ชั่วโมง
3. ต้องขังแพะไว้ในคอกอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
4. กำจัดตัวไมท์ที่เป็นพาหะของพยาธิตัวตืด ตามหญ้า วัสดุรองพื้นคอก และโรงเรือน
5. ย้ายแพะจากแปลงหญ้าเดิมที่เป็นแหล่งพยาธิระบาดไปเลี้ยงที่แปลงอื่น
ยาถ่ายพยาธิตัวตืด
การรักษาจะใช้ยาถ่ายพยาธิตัวตืด ที่มีประสิทธิภาพทำลายพยาธิสูง ปัจจุบันมีจำหน่ายหลายตัว เช่น
นิโคลซาไมด์ (Niclosamide)ชื่อการค้า
โยเมซาน (Yomesan)เป็นผลิตภัณฑ์ของไบเออร์ (Bayer)ราคาค่อนข้างแพงแต่ให้ผลดีและมีความปลอดภัย
แมนโซนิล (Mansonil)เป็นผลิตภัณฑ์ของไบเออร์ (Bayer)
ดรอนชิต เป็นผลิตภัณฑ์ของไบเออร์ (Bayer)
นอกจากนี้ยังมีขายตามท้องตลาดอีกมาก หลายยี่ห้อ เชิญเลือกซื้อได้ตามสะดวก อย่าลืมว่าสุขภาพสัตว์ ก็คือสุขภาพกระเป๋าของเรา เอาดวงใจของเขา มาใส่ใจของเรา เขาจะทุกข์เพียงไหน เราก็เดือดร้อนเพียงนั้น อย่าลืม ทำตัวให้ว่าง หมั่นตรวจสอบขี้แพะดูว่ามีปล้องๆ หลุดปนออกมาขณะแพะขี้หรือเปล่า ขอให้โชคดีทุกๆ ท่านครับ
ภาพจาก Shepherd's Notebook
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550
พยาธิตัวตืดหรือตัวแบน (Tapeworm)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
2 ความคิดเห็น:
บทความดีมากครับคุณโกร่ง ข้อมูลแน่นมากเลย
ขอบคุณครับ แพะพอเพียง ที่กรุณาแกล้งชม
แสดงความคิดเห็น