วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

เพราะรัก จำต้อง "ฆ่า"



วันนี้มีโอกาสได้ร่วมวงกินข้าวกับสาวๆ ในออฟฟิช ทั้งสาวเหลือน้อยและสาวไม่มาก ไม่รู้เป็นอะไรกัน นั่งเม้าท์กันในวงข้าว เรื่องราว ของ "นวลฉวี" และที่เพิ่งปิดคดีไปเมื่อไม่นานนี้ และอื่นๆ อีก 2-3 เรื่องที่เป็นตำนาน "หมอฆ่าเมีย" แล้วทำไมต้องฆ่า ฆ่าแล้วทำไมต้องหั่น หรือทำไมต้องชำแหละ ทำไม ทำไม เขาเป็นอะไร ????


โรคแพะ ปัญหาสาธารณสุข และปัญหาเศรษฐกิจ

และวันนี้ทำให้นึกถีงเรื่องราวของสมาชิกชุมทางแพะท่านหนึ่ง ที่อยู่ร่วมชะตาเดียวกันคือ "จำต้องฆ่า แม้ว่ายังรัก" ทั้งเสียใจและแสนเสียดาย เพราะนี่คือการสูญเสีย เป็นการเสียทั้งทางด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจ

เรื่องราวมีอยู่ว่าสมาชิกท่านนี้ได้ทำการปรับปรุงมาตรฐานฟาร์มเพื่อให้ความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สนองโครงการ "อาหารปลอดภัย" คนเลี้ยงปลอดภัย คนซื้อปลอดภัย คนขายปลอดภัย คนแปรรูปปลอดภัย และคนกินก็ปลอดภัย

หลังจากให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เจาะเลือดนำไปตรวจเพื่อพิสูจน์ทราบและวินิจฉัยโรค ว่าเป็นบรูเซลโลซิส (Brucellosis) หรือไม่ ผลปรากฏว่า เป็นผลลบ ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ เป็นอย่างยิ่ง เพราะสันนิฐานว่าเป็นโรคบรูเซลโลซิส และในจำนวนที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยเหล่านี้ เป็นแพะท้องซะหลายตัว นั่นหมายถึง รายได้ในอนาคตที่จะได้รับจะต้องหลุดหายไปอย่างน่าเสียดาย เสียรายได้ เสียโอกาส และเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เพราะว่ามีแพะที่ตั้งท้อง ผู้เลี้ยงท่านนี้ไม่สามารถลบออกจากระบบได้ จะฆ่า ก็ฆ่าไม่ลง เพราะว่าแพะมันท้อง ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงดูต่อไป และต้องลำบากจัดหาที่ทางเพื่อกักบริเวณ ไม่ให้มีโอกาสได้คลุกคลีกับแพะตัวอื่นๆ ปล่อยให้คลอดแล้วจึงค่อยลบ (Delete) ออกไปทั้งแม่ทั้งลูก

ด้านปัญหาสาธารณสุขที่ตามมาก็คือ โรคนี้เป็น"โรคสัตว์สู่คน"โรคสัตว์สู่คนแปลว่า ปกติแล้วเป็นในหมู่สัตว์แต่สามารถติดต่อมาสู่คนได้ เมื่อเกิดขึ้นในคนแล้วจะไม่สามารถแพร่ไปสู่คนด้วยกัน นับว่าเป็นการสูญเสียกันยกใหญ่

ดังนั้น ต้องทำการตรวจโรคแพะก่อนทุกครั้ง จึงนำเข้าฟาร์ม ห้ามนำแพะที่ไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด และตรวจทดสอบโรคปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย นี่คือการป้องโรคกันที่ดีเพราะว่า "โรคบรูเซลโลซิส ยังไม่มียารักษา"

รู้จักโรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis)

โรคนี้ชาวบ้านมักเรียกว่า "โรคแท้ง" หรื่อ "แท้งติดต่อ" หรือ"แท้งต่อเนื่อง" เพราะเมื่อเป็นโรคแล้วแพะมักจะมีอาการแท้งลูก (แพะเมื่อแท้งลูกแล้วในระยะหลังมักจะไม่พบการแท้งลูกอีก)

บรูเซลโลซิสในแพะมีสาเหตุจากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bruceela melitensis

แหล่งรังโรคคือ สัตว์ที่แท้งลูกพร้อมลูกสัตว์ สารคัดหลั่งต่างๆจากสัตว์ที่แท้ง จะทำให้บริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นปนเปื้อน

การแพร่โรคจากฝูงหนึ่งไปอีกฝูงหนึ่งโดยมากเกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์เป็นโรคที่ตั้งท้อง หรือ จากนำสัตว์พ่อพันธุ์เข้าฝูง

หรือบางครั้งอาจจะแพร่โรคโดยสุนัข โดยการกัด-แทะ และเคลื่อนย้ายซากลูกสัตว์ที่เป็นโรคไปตามที่ต่างๆ

เชื้อบรูเซลลา ถูกขับออกมาในน้ำนมได้นานเป็นปีหรือมากกว่า หลังจากสัตว์แท้งลูกสัตว์จะปล่อยเชื้อออกมาเป็นจำนวนมากในมดลูก สารคัดหลั่งที่ออกมาจากมดลูก และปัสสาวะ เป็นระยะ 1-3 วันหลังคลอด และจะปล่อยเชื้อได้นาน 4-6 เดือน

ในสัตว์ที่ไม่ตั้งท้องจะเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะเป็นตัวอมโรคและแพร่โรคได้ ส่วนตัวผู้มักพบอัณฑะอักเสบ
(สัตวแพทย์หญิงมนยา เอกทัตร์ กลุ่มอิมมูนและซีรัมวิทยา )

การติดต่อของโรคบรูเซลโลซิส
1. โดยตรง เช่น การกิน, การสัมผัส
2. โดยอ้อม ไม่เจตนา แต่มาทางอากาศ เช่น การหายใจ ว้าว น่ากลัวจังเลย

โรคแท้งติดต่อ มีทางออก

โรคนี้ ติดทางสิ่งคัดหลั่งและการสัมผัส เช่น ผสมพันธุ์ เลีย ปัสสาวะ อุจจาระ
การตรวจ ใช้น้ำเลือด(ซีรั่ม) ส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กทม. อยู่ในรั้วเดียวกันกับ ม.เกษตร อยู่ด้านหลังกรมป่าไม้

การตรวจที่ให้ผลลบ พอตรวจซ้ำให้ผลบวก นั้นไม่ใช่เพราะความผิดพลาดของห้องแลบ แต่เป็นเพราะเจ้าเชื้อนี้มันสามารถหลบซ่อนได้ ทำให้เราเดี๋ยวเจอเดี๋ยวไม่เจอ อาจเป็นเหตุให้คนขัดแย้งกันได้

วิธีที่ใช้ตรวจนี้มีความไวมาก รู้ผลเร็ว และแนะนำให้ตรวจเดือนละ 1 ครั้งจนกว่าจะได้ผลลบทั้งฟาร์มติดกัน 3 ครั้ง จึงขยับไป อีก 6 เดือน และ 1 ปีได้ ที่ต้องตรวจเข้มขนาดนี้ เพราะว่ามันแพร่กระจายได้ง่าย ติดคนแล้วตายได้ และที่สำคัญมันหลบซ่อนในต่อมนำเหลืองได้เก่ง ถ้าเจอถือว่าโชคดีทีเดียว

อย่าได้เสียดายหรือเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย ให้ตัดใจทำลายทิ้ง

อย่าขายต่อเพราะจะเป็นการทำร้ายกันเอง

คนต้องดูแลตัวเอง ด้วยหลักแห่งความสะอาดนั้นเพียงพอต่อการป้องกันตัว คนเชือดจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนกินสุก

เวลาเราไปเยี่ยมฟาร์มขอให้ช่วยกันจุ่มเท้าจุ่มล้อรถ

และอย่าจับแพะคนอื่นโดยไม่ล้างมือก่อนและหลัง เพื่อเป็นการแสดงความเคารพในทรัพย์ของกันและกัน ค่ะ

ปล. ตรวจได้ทุกเพศทุกวัย ยกเว้น ลูกอายุต่ำกว่า 3 เดือน เพราะตรวจไปจะไม่เจอ
(พรหล้า, กระทู้ชุมทางแพะ)




ขอขอบคุณภาพจาก Skeptics Society และ fao

1 ความคิดเห็น:

โจ ประจวบ กล่าวว่า...

รั้วตาข่ายเป็นรั้วที่เหมาะกับการเป็นคอกขังแพะมาก เพราะทำให้ไม่ลำบากกับการที่ค้องมาไล่แพะเข้าคอกอยู่บ่อยๆๆ เพราะประสบปัญหากับการใช้ไม้ทำคอกมาแล้ว มันลอด มุดตามช่องได้แม้แต่ชองเล็กๆๆ